กือโป๊ะ คือ อาหารขบเคี้ยวชนิดแผ่นบางทอดกรอบจิ้มด้วยน้ำจิ้มมีรสเผ็ดอมหวานเหมือนน้ำจิ้มไก่ย่าง อุดมไปด้วยแคลเซี่ยมและโปรตีน ที่เหมาะสมทางด้านโภชการสำหรับผู้บริโภคทุกวัย เพราะมีปลาสด แป้งมัน และแป้งสาคู เป็นส่วนผสมหลักในกระบวนการผลิต โดยขั้นแรก นำปลาสดมาตัดหัวตัดหางล้างให้สะอาด แล้วนำเข้าเครื่องบดให้ละเอียด เติมส่วนผสม ซึ่งมีแป้งมัน แป้งสาคู และเกลือ นวดคลุกเคล้าให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน เสร็จแล้วจึงปั้นเป็นแท่งทรงกลมขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ยาว 1 ฟุต และนำมาต้มในน้ำเดือดจนสุก แล้วนำขึ้นมาผึ่งลมจนแห้งและแช่เย็นเพื่อให้แท่งข้าวเกรียบแข็งตัวง่ายต่อการนำเข้าเครื่องหั่นเป็นแผ่นบางๆ เสร็จแล้วนำไปทอดในกระทะน้ำมันเดือดจนกรอบ และบรรจุถุงออกวางขายในราคาถุงละ 20 บาท
kruepukblog
วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ประวัติความเป็นมาของข้าวเกรียบ
กือโป๊ะ" ถือเป็นอาหารขบเคี้ยวอย่างหนึ่งที่ชาว จ.นราธิวาส นิยมบริโภคเป็นอาหารว่างประจำวัน ทั้งยังเป็นสินค้าประเภทของฝากชนิดหนึ่งที่เลื่องชื่อสำหรับชาวบ้านที่นิยมซื้อไปฝากเครือญาติที่ไปทำงาน หรืออาศัยอยู่ในต่างภูมิภาค กือโป๊ะ เป็นคำนามในภาษายาวี หรือภาษาท้องถิ่นที่ใช้สื่อความหมายถึง "ข้าวเกรียบ" ในภาคภาษาไทย ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จนมีผู้ผลิตขึ้นมาทอดขายกันริมฟุตบาทบนถนนแทบจะทุกสายในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส คล้ายกับส้มตำที่มีขายกันเกลื่อนเมืองในภาคอีสาน
ส่วนผสมการทำข้าวเกรียบ
ส่วนผสม
- ปลาทู 5 กิโลกรัม
- แป้งมันสำปะหลัง 1.5 กิโลกรัม
-เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 5 ช้อนโต๊ะ
ความเห็นจากเจ้าของโรงงานผลิต
นายเจ๊ะอามิ เจ๊ะมุ เจ้าของโรงานข้าวเกรียบเมาะซูซึ่ง เป็น 1 ในจำนวนโรงงานผู้ผลิตข้าวเกรียบในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส กล่าวว่า ตนยึดอาชีพผลิตข้าวเกรียบกือโป๊ะ หรือข้าวเกรียบสดมา 25 ปีแล้ว โดยในแต่ละวันซื้อปลาสดมาผลิตกือโป๊ะประมาณ 300 กิโลกรัม ผสมกับแป้งมัน 5 กระสอบ และแป้งสาคู 5 กระสอบ ข้าวเกรียบจะใหม่และสดทุกวัน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ประมาณ 20,000 บาทต่อวัน หรือ เดือนละประมาณ 600,000 บาท สามารถสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี โดยไม่ต้องเร่ร่อนไปหางานทำต่างถิ่น ทำให้ชีวิตครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)